ประวัติ " BaLLooN za za "

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4
.สื่อกลางประเภทมีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
  การแชร์หรือการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
1. แชร์ฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ผู้ใช้สามารถใช้ร่วมกัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
หน่วยความจำ (Mass Storage Server) ได้แก่ ฮาร์ดิสก์ เทปไดรฟ์ และออปติกคัลดิสก์
อุปกรณ์เอาท์พุท (Output Server) ได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกซ์ แบบอิงค์เจ็ต หรือแบบเลเซอร์ เครื่องฉายวิดีโอโปรเจคเตอร์ และจอวิดีโอขนาดใหญ่ เป็นต้น อุปกรณ์การสื่อสาร (Communication Server) ได้แก่ โมเด็ม บริดจ์ เราเตอร์ เกตเวย์ และเครื่องแฟกซ์ เป็นต้น
2. แชร์ซอฟต์แวร์ ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ซอร์ฟแวร์ซึ่งเครื่อง PC ของตนไม่มีซอร์ฟแวร์นี้ติดตั้งอยู่ เช่น เครื่องที่ใช้อยู่ไม่สามารถใช้โปรแกรมบางโปรแกรมได้ สามารถที่จะเรียกใช้โปรแกรมจากเครื่องที่สามารถใช้ได้มาทำงานในเครื่อง PC ของตน รวมทั้งยังสามารถสั่งพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์ที่เชื่อมต่อในเครือข่ายได้
      3. แชร์ไฟล์ข้อมูล ไฟล์ข้อมูลเพียงไฟล์เดียวที่อยู่ในไฟล์เซิร์พเวอร์ สามารถให้บริการเรียกใช้จากผู้ใช้ได้ทีละหลายคน เป็นการประหยัดเนื้อที่หน่วยความจำในการเก็บรักษาไฟล์ข้อมูล  นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถติดต่อขอใช้หรือเรียกดูไฟล์ข้อมูลจากเครือข่ายภายนอก ผ่านทางเราเตอร์หรือเกตเวย์ได้อีกด้วย
ประหยัดค่าใช้จ่าย
        1. ประหยัดฮาร์ดแวร์ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ประสิทธิภาพสูง (ราคาแพง) เพียงเครื่องเดียวรองรับงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพและความรวดเร็วได้ทั้งสำนักงาน
        2. ประหยัดค่าซอร์ฟแวร์ เพราะมีซอร์ฟแวร์อยู่เพียงก็อบปี้เดียวก็สามารถเรียกใช้ได้ทั่วกัน         
        3. สามารถรวมเป็นเครือข่ายเดียวกัน ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของงานที่ซ้ำซ้อนได้
        4. ประหยัดค่าติดตั้งและค่าดูแลรักษา เพราะระบบใหม่สามารถติดตั้งได้ง่ายและสามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิมมาใช้งานได้อีก
 สะดวกกับผู้ใช้งาน
        1. ผู้ใช้สามารถเข้าสู่เครือข่ายได้ง่าย
        2. ตัดปัญหาเรื่องไฟล์ข้อมูลหายหรือต้องเตรียมไฟล์ข้อมูลสำรอง เพราะไฟล์เซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่สำรองข้อมูลแทนให้
        3. สะดวกกับผู้ใช้งานจากจุดหนึ่งที่จะเข้าไปใช้ไฟล์ข้อมูลของผู้ใช้งานในอีกจุดหนึ่งซึ่งใช้เก็บสำรองไฟล์ข้อมูลนั้นไว้ในไฟล์เซิร์ฟเวอร์
        4. สามารถส่งข้อความตอบโต้กันระหว่างผู้ใช้ได้ง่ายด้วยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
        5. ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ฮาร์ดแวร์คุณภาพดีๆได้
        6. ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูล ข้อความ และซอร์ฟแวร์กับระบบอื่นภายนอกเครือข่ายได้ง่าย
        7. สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วสูง สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น (ขึ้นอยู่กับชนิดของสายสื่อสารและรูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่ายด้วย)
Ø ข้อเสียและข้อจำกัดของ LAN  
1.ยังมีระบบอื่นที่ยังสามารถทำงานได้ดีเช่นเดียวกันหรือดีกว่าสำหรับงานในระบบสำนักงาน เช่น ระบบ online ซึ่งมีใช้กันมาก่อนระบบ LAN ระบบสวิตชิ่งดิจิตอล PABX หรือตู้ชุมสายอัตโนมัติในอาคารซึ่งสามารถสื่อสารข้อมูลทั้งเสียงและข้อมูลได้เช่นเดียวกับ LAN โดยผ่านทางสายโทรศัพท์
2.ซอร์ฟแวร์ที่ใช้กับระบบ LAN ในปัจจุบันยังพัฒนาได้ไม่ดีเทียบเท่ากับซอร์ฟแวร์ในระบบของเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรมซึ่งมีมาก่อน และราคาของซอร์ฟแวร์เฉพาะสำหรับระบบ LAN ยังมีราคาสูงอยู่
3.ระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลยังไม่ดีพอเมื่อเทียบกับระบบในเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หรือเมนเฟรม
4.เนื่องจากคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆมีความหลากหลายอยู่มาก จึงยากต่อการควบคุมให้มีมาตรฐานการทำงานแบบเดียวกัน และยุ่งยากต่อการดูแลรักษา
5.ระบบฐานข้อมูลเป็นแบบกระจายไปตามจุดผู้ใช้ต่างๆจึงทำให้ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.สื่อกลางประเภทไม่มีสาย มีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
Ø ข้อดีของระบบ Wireless LAN          1. สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลต่อพ่วง
          2. ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล
          3. ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว
          4. สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด
Ø ข้อเสียของระบบ Wireless LAN
          1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น
          2. มีสัญญาณรบกวนสูง
          3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
          4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
          5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
          6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก
3.PAN และ SAN คืออะไรจงอธิบาย
Ø ระบบเครือข่ายPAN
ระบบเครือข่าย Pan
เครือข่าย ส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal area network) : PAN)PANPAN คือ "ระบบการติดต่อสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล" ย่อมาจาก Personal Area Network หรือเรียกว่า BluetoothPersonal Area Network (PAN)คือเทคโนโลยีการเข้าถึงไร้สายในพื้นที่เฉพาะส่วนบุคคล โดยมีระยะทางไม่เกิน 1เมตร และมีอัตราการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงมาก (สูงถึง 480 Mbps) ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้กันแพร หลาย ก็เช่น• Ultra Wide Band (UWB) ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.3a• Bluetooth ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.1• Zigbee ตามมาตรฐาน IEEE 802.15.4เทคโนโลยีเหล่านี้ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง(peripherals) ให้สามารถรับส่งข้อมูลถึงกันได้ และยังใช้สำหรับการรับส่งสัญญาณวิดีโอที่มีความละเอียดภาพสูง (high-definition video signal) ได้ด้วยPersonal Area Network (PAN)ช่วยให้เราสามารถจัดการข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่เคลื่อนที่ไปมาได้อย่างหลากหลายคิดค้นโดยนักวิจัยของ MIT รวมกับIBM โดยจะสร้างกระแสไฟฟ้าแรงต่ำ (ระดับพิโคแอมป ) ออกไปตามผิวหนังโดยเครื่องรับสัญญาณตามจุดต่างๆ ของร่างกายสามารถรับสัญญาณได้ เทคโนโลยีนี้จะเหมาะกับการใช้งานทางการแพทย์ เพราะอุปกรณ์ โดยมากจะมีการติดตั้งตามลำตัวมนุษย์พัฒนาโดย Bluetooth Special Interest Group (http://www.bluetooth.com/) เริ่มก่อตั้งในปี 1998 ด้วยความร่วมมือกันระหว่าง Ericsson, IBM, Intel, Nokia และ Toshiba ซึ่ง Bluetooth (บลูทูธ) การสื่อสารระยะสั้น (Short-range Transmission) ที่ติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล โดยสามารถส่งและติดต่อข้อมูลแบบ Voice และ Data ระหว่างอุปกรณ์ที่เป็นคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือต่างๆ (PC, Laptop, PDA, Mobile phone ฯลฯ) โดยการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้ทั้งแบบ point-to-point และ Multi-pointข้อดี-ข้อเสียของ Personal Area Network (PAN)ข้อดีคือ1. สะดวกต่อการใช้งาน2. สามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว3. มีการรับรองเครือข่าย4. สามารถนำอุปกรณ์ต่างๆมาใช้ร่วมกันได้ข้อเสีย คือ1. สื่อสารได้ไม่เกิน 1 เมตร2. การส่งข้อมูลอาจเกิดข้อผิดพลาดได้3. ติดไวรัสได้ง่าย4. ราคาแพงประโยชน์และการนำมาประยุกต์ใช้จากการที่กลุ่มของเราได้ศึกษาเกี่ยวกับ Personal Area Network (PAN) กลุ่มของเราได้รวบรวมความคิดและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันที่ จะประดิษฐ์ แว่นตาที่สามารถส่งสัญญาณผ่านเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว โดยการประมวลภาพจากสิ่งที่เห็น แล้วแปลงเป็นคลื่นสัญญาณส่งผ่านข้อมูลไปยังเครื่องรับข้อมูลกลาง แล้วเครื่องรับข้อมูลกลางก็จัดส่งข้อมูลไปยังเครื่องรับตัวอื่นๆด้วยเครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคลบลูทูธ (PAN) เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่ทำให้คุณสามารถสร้างเครือข่าย อีเทอร์เน็ต ด้วยการเชื่อมต่อแบบไร้สายระหว่างคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์แบบพกพาต่างๆ คุณสามารถเชื่อมต่อกับชนิดของอุปกรณ์ที่รองรับบลูทูธซึ่งใช้กับ PAN ได้ดังต่อไปนี้ อุปกรณ์สำหรับผู้ใช้เครือข่ายพื้นที่ส่วนบุคคล (PANU) อุปกรณ์ที่ให้บริการในเครือข่ายเฉพาะกิจแบบกลุ่ม (GN) หรืออุปกรณ์ในจุดเข้าใช้งานเครือข่าย (NAP)ต่อไปนี้เป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชนิดดังกล่าวอุปกรณ์ PANU การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ PANU ที่รองรับบลูทูธจะสร้าง เครือข่ายเฉพาะกิจ ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ของคุณและอุปกรณ์ดังกล่าวอุปกรณ์ GN การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ GN ที่รองรับบลูทูธจะสร้างเครือข่ายเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ของคุณ อุปกรณ์ GN ดังกล่าว และอุปกรณ์ PANU ใดๆ ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ GN เดียวกันอุปกรณ์ NAP การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ NAP ที่รองรับบลูทูธจะช่วยให้คุณสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของคุณกับ เครือข่าย ที่ใหญ่กว่า เช่น เครือข่ายภายในบ้าน เครือข่ายภายในบริษัท หรืออินเทอร์เน็ตหมายเหตุโทรศัพท์มือถือและเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA) บางเครื่องสามารถใช้งานได้เฉพาะกับเครือข่ายการเรียกผ่านสายโทรศัพท์ บางเครื่องใช้ได้เฉพาะกับเครือข่าย PAN และบางเครื่องสามารถใช้ได้กับบริการทั้งสองแบบ เมื่อต้องการค้นหาว่าอุปกรณ์ที่รองรับบลูทูธของคุณจะสามารถใช้งานได้กับบริการใด ให้ตรวจสอบข้อมูลที่มากับอุปกรณ์
Ø ระบบเครือข่าย SAN คืออะไร

SAN เป็นระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้

การจัดเก็บที่เก็บแบบนี้จึงต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่อให้รองรับระบบดังกล่าว การทำงานนี้จึงคล้ายกับการสร้างเครือข่ายของที่เก็บข้อมูลแยกต่างหาก เป็นการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพได้ และสามารถใช้งานได้ดีกว่าแบบเดิม ด้วยเหตุผลที่แนวโน้มของการเก็บข้อมูลข่าวสารความรู้ในองค์กรมีมาก การดูแลฐานความรู้และข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อรองรับองค์กรในอนาคต SAN จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการบริหารและจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย มีความเชื่อถือได้ในระดับสูงกำลังจะกลายเป็นของคู่กันสำหรับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่ในอนาคตในบ้านเรา แต่สำหรับในต่างประเทศ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องปกติ
Storage Area Network หรือ SAN เป็นระบบโครงสร้างที่มีการเชื่อมต่อทางข้อมูลข่าวสารระหว่างกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ล้ำหน้า ที่จะช่วยให้สามารถจัดเก็บและดึงข้อมูลขนาดใหญ่ หรือปริมาณมหาศาล ออกมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และง่ายต่อการบริหารจัดเก็บข้อมูล ระบบของ SAN ไม่ใช่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการจัดเก็บข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่า SAN ไม่ได้อยู่ในเครือข่ายแลน แต่อยู่ด้านหลังของเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ โดยทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บ และปลดปล่อยข้อมูลเพื่อสนองตอบกลุ่มของเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งได้รับการร้องขอจากกลุ่มของไคลเอนต์บนเครือข่ายอีกทีหนึ่ง ดังนั้น SAN จึงไม่ใช่อุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่ง หรือคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง แต่เป็นระบบบริหารการจัดเก็บและดูแลกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง โดยกลุ่มของอุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ มีการเชื่อมต่อกันทางด้านเครือข่ายก็จริง แต่ไม่ได้เชื่อมต่อผ่านทาง Switching Hub ธรรมดา แต่อาจเชื่อมต่อกันด้วยระบบ Fiber Channel Hub หรือ Switch หรือ เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่กำลังจะมีมาในอนาคต
        SAN สามารถให้ความยืดหยุ่นในการบริการจัดการกับระบบ รวมทั้งการจัด Configuration ซึ่งในที่นี้หมายถึง ความยืดหยุ่นสูงในการกำหนด ขนาดหรือลดขนาดการบรรจุเก็บข้อมูลข่าวสารของระบบ
เราสามารถเพิ่มหรือลดจำนวนของเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์จัดเก็บได้เต็มที่ โดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของ SAN นอกจากนี้ภายใต้ระบบ SAN สามารถมีเซิร์ฟเวอร์หลาย ๆ ตัว หรือเป็นจำนวนมาก ที่สามารถเข้ามา Access ใช้งานในกลุ่มของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ที่ดูแลภายใต้ SAN ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

คำถามท้ายบทที่ 1
1.จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
 เทคโนโลยี หมายถึง เทคโนโลยี เป็นการนำเอาแนวความคิด หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการ ตลอดจนผลผลิตทางวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านสิ่งประดิษฐ์และวิธีปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ความรอบรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูล ความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ข้อมูลมาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล ดังนั้นถือได้ว่ายุคนี้เป็นยุคสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ โดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการจัดหา วิเคราะห์ ประมวล จัดการและจัดเก็บ การพิมพ์ การสร้างรายงาน การเรียกใช้หรือแลกเปลี่ยน และเผยแพร่สื่อสารข้อมูล ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรูป เสียง ตัวอักษร หรือภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของสารสนเทศนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของผู้ใช้
ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคลวัตถุหรือสถานที่ ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การเก็บรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้ง ข้อความ ตัวเลข ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่อง  เช่น คะแนนสอบ ชื่อนักเรียน เพศ เป็นต้น
ฐานความรู้ หมายถึง สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่าเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆได้
2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
1.ระดับล่างสุด  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซี่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ (transaction processing system)
2.  ระดับที่สอง  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน (operation control)
3.  ระดับที่สาม  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ (management control)
4.  ระดับที่สี่  เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์ (strategic planning)
3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ
ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

บลูเรย์ (Blu-ray Disc)
บลูเรย์ดิสค์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD) คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm
ประวัติ
มาตรฐานของบลูเรย์พัฒนาโดย กลุ่มของบริษัทที่เรียกว่า Blu-ray Disc Association ซึ่งนำโดย ฟิลิปส์ และ โซนี เปรียบเทียบกับ เอ็ชดีดีวีดี (HD-DVD) ที่มีลักษณะและการพัฒนาใกล้เคียงกัน บลูเรย์มีความจุ 25 GB ในแบบเลเยอร์เดียว (Single-Layer) และ 50 GB ในแบบสองเลเยอร์ (Double-Layer) ขณะที่ เอ็ชดีดีวีดีแบบเลเยอร์เดียว มี 15 GB และสองเลเยอร์มี 30 GB
ความจุของบลูเรย์ดิสค์  ซึ่งปกติแผ่นบลูเรย์นั้นจะมีลักษณะคล้ายกับแผ่น ซีดี/ดีวีดี โดยแผ่นบลูเรย์จะมีลักษณะแบบหน้าเดียว และสองหน้า โดยแต่ละหน้าสามารถรองรับได้มากถึง 2 เลเยอร์ อาทิ
 แผ่น BD-R (SL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB
แผ่น BD-R (DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB
แผ่น BD-R (2DL) หมายถึง Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB
ส่วนความเร็วในการอ่านหรือบันทึกแผ่น Blu-Ray ที่มีค่า 1x, 2x, 4x ในแต่ละ 1x จะมีความเร็ว 36 เมกะบิต ต่อ วินาที นั่นหมายความว่า 4x นั่นจะสามารถบันทึกได้เร็วถึง 144 เมกะบิต ต่อ วินาที โดยมี นักวิทยาศาสตร์จาก NASA เป็น ผู้พัฒนาต่อจาก ระบบบันทึกข้อมูลที่ใช้ในโครงการอวกาศ

1. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง
  1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
  2. ซอฟต์แวร์ (Software)
  3. บุคลากร (People ware)
  4. ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
  5. กระบวนการทำงาน (Procedure)
  6. ระบบสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คืออะไร
คือ ลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
    • หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
    • หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
    • หน่วยความจำหลัก
    • หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
    • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )

3.ซอฟต์แวร์ (Software) คืออะไร
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
    • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
    • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )

4.หน้าที่ของอุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คือ
หน้าที่ของอุปกรณ์รับข้อมูลเข้า คือ เป็นอุปกรณ์รับเข้าทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับเข้าที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่คือ แผงแป็นอักขระ (keyboard) และเมาส์ (mouse)  นอกจากนี้ เช่น VDO camera,Scanner,Microphone ,Trackball ,Joystick เป็นต้น

5.หน้าที่ของอุปกรณ์ประมวลผล คือ
หน้าที่ของอุปกรณ์ประมวลผล คือ การประมวลผลของคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นจากการทำงานประสานกันของหน่วยประมวลผลและหน่วยความจำหลักหรือหน่วยความจำภายใน โดยหน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ควบคุมและปฏิบัติการตามขั้นตอนของโปรแกรม ในขณะที่หน่วยความจำจะเป็นที่พักของโปรแกรม ข้อมูลนำเข้า และผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลก่อนนำออกไปแสดงทางอุปกรณ์แสดงผล

6.หน้าที่ของหน่วยความจำ คือ
หน้าที่ของหน่วยความจำ คือ เป็นส่วนที่หน้าที่ในการเก็บคำสั่งและข้อมูล รวมทั้งผลที่ได้จากการประมวลผลจากส่วนคำนวณและเปรียบเทียบ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการส่งหรือคัดลอก (Copy) ข้อมูลจากหน่วยความจำไปยังหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องข้อมูล แต่ละข้อมูลจะถูกกำหนดตำแหน่งให้เก็บในหน่วยความจำเพียงตำแหน่งเดียวหน่วยความจำกำหนดเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งหมายถึงตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ 1 ตัว ที่กำหนดเป็นรหัสจากบิต (Bit) ตามมาตรฐานการกำหนดรหัส

7.จงบอกถึงหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยความจำภายนอก (Secondary Memory or External  Memory) เป็นหน่วยความจำที่มิได้ติดอยู่กับเครื่องตลอดเวลสามาถเคลื่อนย้ายไปมาได้ มีราคาถูกสามารถเก็บข้อมูลได้มาก ที่นิยมใช้ปัจจุบัน เป็นประเภทของ Diskette 3.5 นิ้ว (ความจุ 1.44 MB.), แผ่น Compact Disc: CD (ความจุ 650 MB.) ซึ่ง Compact Disc นี้กำลังเริ่มได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากสามารถเขียนและอ่านได้เป็นอย่างดี จึงสามารถทำงานได้เทียบกับหน่วยความจำหลักเลยทีเดียว